วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก ป.1

การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก


การดูแลรักษาอวัยวะของร่างกายสามารถทำได้ ดังนี้




            ตา   ไม่ใช้มือขยี้ตาเมื่อมีฝุ่นเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด  อ่านหนังสือในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ  ควรวางหนังสือห่างจากระดับ               สายตายประมาณ 1  ฟุต ไม่ควรใช้สายตาจ้องมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ 

            หู ไม่แคะหู  ไม่ตะโกนใส่หู  ไม่ให้น้ำเข้าหู  ถ้าปวดหู ควรรีบไปพบแพทย์

            จมูก ไม่แคะจมูก  ไม่สั่งน้ำมูกแรงๆ  หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีฝุ่นควันมาก ๆ 

            คอ ไม่เอี้ยวคอแรง ๆ  ไม่เล่นรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อคอ

            ผม สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒-๓ ครั้ง แปรงผมบ่อย ๆ ควรตัดผมสั้นเพื่อทำความสะอาดง่าย

            มือและเล็บ ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ  ตัดเล็บให้สั้น  ไม่ดูดนิ้วหรือกัดเล็บ

            เท้าและเล็บ ล้างขาและเท้าให้สะอาด  ตัดเล็บเท้าให้สั้น

            ผิวหนัง อาบน้ำอย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง  เช็ดตัวให้แห้งหลังอาบน้ำและใส่เสื้อผ้าที่สะอาด



รอบรู้เรื่องตัวเรา (อวัยวะภายนอก)
อวัยวะของเราแต่ละอย่าง มีประโยชน์ต่อเรา ช่วยให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น ตาช่วยมองเห็น หูช่วยให้เราได้ยินเสียงต่าง ๆ จมูกช่วยให้เราได้กลิ่น มือช่วยในการหยิบสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น
เรามีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข เพราะอวัยวะต่าง ๆ ของเราแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมที่จะทำงานให้เสมอ อวัยวะต่าง ๆของเรานับตั้งแต่เส้นผมบนหนังศีรษะจนถึงปลายเท้าต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ ด้วยการทำความสะอาด และป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดกับอวัยวะส่วนนั้น คนที่ร่างกายสะอาดจะเป็นคนที่น่ามอง คนพบเห็นก็อยากจะพูดคุยประการที่สะอาดย่อมไม่เป็นที่อยู่ของเชื้อโรคต่างๆ
ผม เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของร่างกาย เด็กผู้หญิงบางคนไว้ผมยาว บางคนไว้ผมสั้น แต่เด็ก ๆคตงรไว้ผมสั้นเพราะจะสะดวกต่อการดูแลรักษา ผมยาวจะสกปรกง่าย และอาจเป็นเหาได้ง่าย ผุ้ที่ไว้ผมยาวควรรวบผมไว้ข้างหลังให้เรียบร้อย เด็กผู้ชายจะมีรปัญหาเรื่องผมน้อยกว่าเด็กผู้หญิงเพราะผมสั้นอยู่แล้ว
การทำความสะอาดและดูแลรักษาผม
1. ควรสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
2. หลังสระผมทุกครั้งควรเช็ดผมให้แห้งและหวีเบา ๆ
3. ใช้หวีและแปรงที่ให้ต้องสะอาดอยู่เสมอ
ผิวหนัง   เป็นอวัยวะภายนอกที่ห่อหุ้มร่างกาย ผิวหนังต้องสัมผัสกับสิ่งสกปรกตลอดทั้งวัน เราจึงควรดูแลผิวหนังของเราดังนี้
การทำความสะอาดผิวหนัง1. อาบน้ำถูสบู่ ชำระร่างกายให้สะอาด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้า และตอนเย็น
2. เช็ดตัวให้แห้ง ทาแป้ง และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ที่สะอาดทุกครั้ง
3. ควรออกกำลังกาย และให้ผิวหนังได้รับแสงแดดอ่อน ๆ ผิวหนังที่สะอาดทำให้เรารู้สึกสดชื่น ไม่มีกลิ่น และไม่เป็นโรคผิวหนัง
ตา เป็นอวัยวะภายนอกที่สำคัญยิ่งของคนเรา เรามีตา 2 ตา ตาของเรามีหน้าที่ดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราถ้าตาบอดเราจะทำทำงานต่าง ๆ ได้ลำบากขึ้น ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมา กังนั้นเรต้องดูแลรักษาตาอย่างทะนุถนอม
การทำความสะอาดและระวังรักษาตา
1. เมื่อมีผลเข้าตา ควรลืมตาในน้ำสะอาด อย่าใช้นิ้วขยี้ตา
2. อ่านหนังสือในที่ ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และเมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ ควรหยุดพักสายตา โดยหลับตาสักครู่ หรือมองไปไกล ๆ
3. อย่าดูโทรศัพท์ใกล้จอภาพมากเกินไป ควรดูห่างประมาณ 12 ฟุต และภายในห้องควรมีแสงสว่างเพียงพอ
4. ไม่อ่านหนังสือบนรถ หรือในเรือที่กำลังแล่น หรือที่ที่มีแสงน้อย
5. อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
6. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับตาควรไปพบแพทย์โดยด่วน
หู เรามีหู 2 หู หูของเราใช้ฟังเสียงแต่การที่เราได้ยินเสียงดังมาก ๆ บ่อย ๆ หรือเกิดอุบัติเหตุบาง อย่างกับหู อาจทำให้หูตึงหรือหูหนวกได้ เมื่อหูหนวกแล้วเราจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เราต้องทะนุถนอมหูดังนี้
การทำความสะอาดและดูแลรักษาหู
1. เวลาอาบน้ำหรือสระผมควรระวังอย่าให้น้ำเขาหู
2. หลังอาบน้ำเสร็จ ควรใช้ผ้าเช็ดใบหูและกกหู
3. หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังเกินไป
4. ไม่ตะโกนใส่หู ตบหู หรือแหย่รูหูกันเล่น
5. ไม่ควรแคะหูเอง ถ้ารู้สึกว่ามีขี้หูมาก หรือมีอะไรเข้าหูควรบอกผู้ใหญ่
6. หลีกเลี่ยงการสั่งนำมูกแรง ๆ
จมูก เรามีจมูกอยู่ 1 จมูก จมูกมีหน้าที่หายใจและรับกลิ่น เช่นกลิ่นหอมของดอกไม้ กลิ่นเหม็นของขยะ เป็นต้น เราต้องดูแลรักษาจมูกให้ดีอย่าให้เป็นอันตรายดังนี้
การทำความสะอาดและการระวังรักษาจมูก
1. ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดในรูจมูก ๆ เมื่อฝุ่นหรือน้ำมูกติดอยู่
2. ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมาก ๆ
3. ไม่ควรใช้นิ้วมือหรือวัตถุแข็ง ๆ แคะจมูกเพราะจะทำให้จมูกอักเสบและติดเชื้อโรคได้ง่าย
4. ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง ๆ เมื่อเป็นหวัด
5. ไม่ถอนขนจมูกทิ้ง หรือตัดให้สั้น เพราะจะทำให้ฝุ่นละอองและเชื้อโรคขู่ร่างกายได้ง่าย
6. ระวังไม่ให้จมูกได้รับการกระแทกอย่างแรง เพราะอาจทำให้เลือดกำเดาไหล
7. ไม่นำเมล็ดผลไม้หรือสิ่งต่าง ๆ ใส่ในจมูกเล่น เพราะอาจจะหลุดเข้าไปในรูจมูกและปิดทางเดินหายใจ อาจทำให้ถึงตายได้
8. หากมีอาการผิดปกติที่จมูกควรรีบปรึกษาแทพย์
ปากและฟัน ปากเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่เป็นช่องทางรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย ใช้สำหรับพูดคุย ภายในปากยังมีฟันมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร และลิ้นที่ช่วยในการรับรส เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม เป็นต้น
ฟัน มีหน้าที่ฉีกอาหาร และบดเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อกลืนเข้าไปในลำคอเข้าสู่ร่างกาย ฟันคนเรามี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนมและฟันแท้
การทำความสะอาดและดูแลรักษาปากและฟัน1. แปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนเข้านอน และหลังตื่นนอนตอนเช้า ทุกครั้งที่แปรงฟันจะต้องแปรงให้ถูกวิธี
2. หลังรับประทานอาหารควรแปรงฟัน หรือบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง
3. อย่าใช้ไม้จิ้มฟัน แคะฟัน
4. ควรรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย เช่น แตงกว่า มะเขือเทศ ชมพู่ จะช่วยนวดเหงือกและฟัน
5. ไม่รับประทานอาหารพวกลูกอม (ท๊อฟฟี่) และอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจทำให้ฟันผุได้
6. ควรไปตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน
ขั้นตอนและการแปรงฟันที่ถูกต้อง
1. ฟันบน ใช้ขนแปรงปัดจากบนลงล่าง
2. ฟันล่าง ใช้ขนแปรงปัดจากล่างขึ้นบน
3. ฟันกราม ใช้ขนแปรงถูไปมา
4. ฟันหน้า ใช้ขนแปรงปัดจากบนลงล่าง
นิ้วและนิ้วมือ เรามีมือ 2 ข้าง มือแต่ละข้างมี 5 นิ้ว  เราใช้มือและนิ้วหยิบจับสิ่งของและทำงาน ดังนั้นมือและนิ้วมือจึงเป็นอวัยวะที่สกปรกได้ง่าย เราจึงควรล้างมือและนิ้วมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนหรือเตรียมอาหารและหลังรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ ห้องส้วม หลังจามหรือไอ หลังเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือกลับมาจากนอกบ้าน
การทำความสะอาดรักษามือและนิ้วมือ
1. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ
2. ไม่อมนิ้วมือเพระจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
3. ควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ
4. ควรสามถุงมือเมื่อต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น ผงซักฟอก ยาย้อมผม น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
ขาและเท้า เรามีขาและเท้า 2 ข้าง เท้าแต่ละข้างมี 5 นิ้ว เท้าเป็นอวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักของร่างกายขณะที่เคลื่อนไหว ไปไหนมาไหน เท้าจะสัมผัสสิ่งต่าง ๆ  อยู่ตลอดเวลา  จึงสกปรกง่านเราต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ ดังนี้
การทำความสะอาดและดูแลรักษาเท้า
1. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลังจากเหยียบย่ำสิ่งสกปรก
2. ตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ ถ้าไว้เล็กเท้าอาจจะเป็นที่สะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
3. เมื่อล้างเท้าแล้วควรเช็ดให้แห้ง
4. สวมรองเท้าเพื่อป้องกันเชื้อโรคและอันตรายจากของมีคม และควรสมรองเท้าที่เหมาะกับเท้า
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น